ทั้งๆที่รดน้ำทุกวันจนดินแฉะ แต่ขอบใบก็ยังไหม้จากการขาดน้ำได้?

Last updated: 6 มี.ค. 2564  |  14259 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทั้งๆที่รดน้ำทุกวันจนดินแฉะ แต่ขอบใบก็ยังไหม้จากการขาดน้ำได้?

ทั้งๆที่รดน้ำทุกวันจนดินแฉะ แต่ขอบใบก็ยังไหม้จากการขาดน้ำได้?


โดยหลักแล้วอาการขอบไหม้นั้น เกิดจากใบไม่สามารถคายน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการของพืชครับ แต่เป็นได้จากหลายสาเหตุ


เรามาเริ่มจากประโยชน์ของการคายน้ำของพืชก่อน การคายน้ำ จะช่วยลดความร้อนของใบและลำต้นลง และเป็นการควบคุมการเคลื่อนที่ของน้ำในต้นพืช โดยกระบวนการคายน้ำจะทำให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ (Transpiration pull) ซึ่งช่วยในการดูดซึมน้ำและธาตอาหารจากดินเข้าสู่ราก


สาเหตุที่ทำให้การคายน้ำไม่เพียงพอนั้นมีได้จากหลายสาเหตุ หรือมาจากหลายๆสาเหตุประกอบกัน เช่น
1.รากไม่สามารถดูดซึมน้ำได้มากเพียงพอ แยกเป็นสาเหตุย่อย คือ
1.1 รากไม่สมบูรณ์อาจเป็นเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย รากเน่า เพิ่งลงปลูกหรือย้ายกระถางใหม่ ทำให้ระบบรากไม่แข็งแรง หรือถูกกระทบกระเทือน


1.2 น้ำ/ดิน มีความเข้มข้นมากเกินไป จนรากไม่สามารถดูดซึมน้ำได้ สาเหตุ เช่น น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเป็น กรด/ด่างมากเกินไป ดินเสีย หรือมีปุ๋ยตกค้างในดินสูง ตัวอย่างเช่น การรดน้ำลงดินที่มีสารตกค้างสูง น้ำก็ทำละลายกับสารตกค้างในดิน ทำให้น้ำก็จะมีความเข้มข้นของสารละลายสูง ถ้ามากเกินกว่าที่รากจะดูดรากซึม(ออสโมซิส)ของเหลวเข้าไปได้ได้ พืชก็จะขาดน้ำ ทั้งๆที่รดน้ำทุกวันจนดินแฉะแต่ใบก็ยังไหม้จากการขาดน้ำได้ครับ เหมือนเอาหลอดเล็กไปดูดไข่มุกในชานมนั่นแหละครับ มันดูดไม่ขึ้น


2. อาการขาดธาตุอาหาร เช่น การขาดโพแทสเซียม หรือการขาดแคลเซียมและโบรอน
2.1โพแทสเซียม มีสำคัญต่อการหายใจ การสังเคราะห์ด้วยแสงและการควบคุมน้ำ การลำเลียงและการสะสมน้ำตาลในพืช ถ้าขาดอาจจะทำให้เกิดการไหม้ที่ขอบใบ ข้อปล้องสั้น ขนาดของผลเล็กลง รสชาติจืด (โพแทสเซียมเรียกอีกอย่างว่าปุ๋ยหวาน) ลักษณะดินที่มักจะขาดโพแทสเซียม เช่น ดินกรดจัด ดินเหนียวจัด หรือมีแมกนีเซียมในดินมาก (ดังนั้นก็ไม่ควรใส่ดีเกลือฝรั่งมากเกินไปนะครับ)


2.2 แคลเซียมและโบรอน มีส่วนช่วยในการควบคุมการดูดและการคายน้ำของพืช โบรอนจะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลให้กับพืช ส่วนแคลเซียมจะช่วยทำหน้าที่เรื่องการขยายเซลล์ ทำให้เซลล์แข็งแรง แต่ในช่วงอากาศร้อนและแล้ง อากาศหนาวหรือแห้ง พืชต้องคายน้ำมาก และต้องใช้พลังงานในการคายน้ำมากขึ้นตาม พืชจึงต้องใช้แคลเซียมโบรอนที่สะสมอยู่ในใบมากตามไปด้วย (กรณีอากาศร้อน ควรให้แคลเซียม โบรอน ทางใบเพิ่ม เพราะถ้าอากาศร้อน แคลเซียมโบรอนจะไม่ถูกส่งมาจากราก) ดังนั้นถ้าในใบพืชมีแคลเซียมสะสมไม่เพียงพอจะทำให้ใบไหม้ได้


3.ขอบใบไหม้ในบางกรณีเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารทำให้เกิดการอุดตัน เรียกอาการของโรคนี้ว่า bacterial leaf blight disease /ครีเสก kres เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al. ส่วนมากจะพบในต้นข้าว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้